วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แบบจำลองOSIสำหรับเครือข่าย

องค์การ ISO และแบบจำลอง OSI

องค์กรกำหนดมาตรฐานสากลหรือมักเรียกสั้นว่า ๆ ISO นั้น จัดเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโกเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสากล และมาตรฐาน ISO นี่เอง ก็ได้ครอบคลุมหักเกณฑ์เครือข่ายการสื่อสารด้วย ที่เรียกว่า Open Systems Interconnection หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แบบจำอง OSI ซึ่งเป็นแบบจำลองอ้างอิงเครือข่ายมาตรฐานสากล โดยทาง ISO ได้พัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1984

แบบจำลอง OSI เป็นระบบเปิด ( Open System ) ที่อนุญาตให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ กล่าวคือ มาตรบานแบบจำลอง OSI ที่จัดทำขึ้นมานั้น ก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรบานการสื่อสารที่เป็นสากล โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ อย่างไรก็ตาม แบบจำลอง OSI ไม่ใช่โปรโตคอล ดังที่หลายคนเข้าใจกันแต่เป็นเพียงแบบจำลองแนวความคิด ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้าใจในสถาปัตยกรรมเครือข่าย และปัจจุบันก็ได้มีการนำโมเดลนี้มาเป็นแบบจำลองทางสถาปัตยกรรมหลักสำหรับการสื่อสารในระดับสากล

แบบจำลอง OSI มีกรอบการทำงานเป็นลำดับชั้น หรือรียกว่า “ เลเยอร์ ” แต่ลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน รวมถึงฟังก์ชันหน้าที่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชั้น สำหรับลำดับชั้นต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมานั้น จะถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารร่วมกัน โดยแบบจำอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้นด้วยกันคือ คือ

  • ลำดับชั้นฟิสิคัส
  • ลำดับชั้นดาต้าลิงก์
  • ลำดับชั้นเน็ตเวิร์ก
  • ลำดับชั้นทรานสปอร์ต
  • ลำดับชั้นเซสซัน
  • ลำดับชั้นพรีเนเตชัน
  • ลำดับชั้นแอปพลิเคชัน

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมีการแบ่งเป็นลำดับชั้นต่าง ๆ มากมาย ซึ่งการมีหลาย ๆ ดับชั้นจะไม่เกิดความยุ่งยากเหรอ ในความเป็นจริงแล้ว การที่แบ่งเป็นส่วนการทำงานย่อย ๆ ที่เรียกว่าเลเยอร์หรือลำดับจะส่งผลดีกว่า ให้ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ กับการเขียนโปรแกรม ลองคิดดูว่า เราทำไมไม่เขียนโปรแกรมแบบรวมกันอยู่ในโมดูลเดียว แต่การออกแบบโปรแกรมที่ดี ควรเขียนโปรแกรมแยกออกเป็นโปรแกรมย่อยหรือโมดูลต่าง ๆ ซึ่งแต่ ละโมดูลก็จะมีหน้าที่การทำงานเฉพาะส่วนของตัวเอง การปรับปรุงหรือการ

เปลี่ยนแปลงโปรแกรมในแต่ละโมดูลก็จะทำได้ง่าย ไม่ต้องไล่โปรแกรมตั้งแต่ต้น หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในบางโมดูลก็จะไม่ส่งผลกระทบกับโมดูลอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน การแบ่งเป็นลำดับชั้นของแบบจำลอง OSI ก็ใช้เพื่อการนี้เช่นกัน

ชื่อของลำดับชั้นทั้งเจ็ดที่เรียงลำดับในแบบจำลอง OSI ในบางครั้งก็ยากต่อการจดจำ แต่ก็มีแนวทางที่จะทำให้การจดจำลำดับชั้นทั้งเจ็ดได้ง่ายขึ้นจากประโยคที่ว่า “ All people seem to need data processing ”

แนวความคิดในการแบ่งลำดับชั้นสื่อสาร

สำหรับแนวความคิดในการแบ่งลำดับชั้นสื่อสารแบบจำลอง OSI สามารถสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

  • เพื่อลดความวับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้และเข้าใจ
  • เพื่อให้แต่ละลำดับชั้นมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และแตกต่างกัน
  • เพื่อให้แต่ละลำดับชั้นปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • เพื่อให้ฟังก์ชันการทำงานในแต่ละลำดับชั้นที่ได้กำหนดขึ้นมานั้น สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  • จากขอบเขตความรับผิดชอบในแต่ลำดับชั้น ทำให้มีการสื่อสารในแต่ละลำดับชั้นมีความคล่องตัว และเพื่อป้องกันในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงบนเลเยอร์หนึ่ง ๆ แล้วส่งผลกระทบต่อเลเยอร์อื่น ๆ
  • จำนวนลำดับชั้นจะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ และเหมาะสมต่อการจำแนกหน้าที่การทำงานให้กับแต่ละชั้นเท่าที่จำเป็น ซึ่งไม่ใช่มีจำนวนลำดับชั้นมากมายเทอะทะเกินความจำเป็น

สำหรับการพัฒนาแบบจำลองนี้ ผู้ออกแบบได้ออกแบบเพื่อให้มีการไหลของกระบวนการส่งผ่านข้อมูลไปยังส่วนล่างแบบต่อเนื่องกันไปในแต่ละชั้น กล่าวคือ การส่งข้อมูลจะส่งจากลำดับชั้นส่วนบนไปยังส่วนล่างจากชั้นหนึ่งไปยังอีกชั้นหนึ่งที่เชื่อมต่อกันเท่านั้น ไม่สามารถสื่อสารข้อมูลข้ามลำดับกันได้ โดยแต่ละลำดับชั้นจะมีกลุ่มหน้าที่ที่แตกต่างไป และการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจนให้กับแต่ละชั้นนี่เอง ทำให้ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมมีความเข้าใจง่าย และมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป โดยส่วนสำคัญที่สุดคือแบบจำลอง OSI จะมองผ่านอย่างสมบูรณ์ ถึงแม้จะเป็นระบบที่เข้ากันไม่ได้ กล่าวคือ ถึงแม้ระบบที่สื่อสารกันจะมีความแตกต่างในสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานมีความแตกต่างกัน แต่นั้นไม่ใช่สาเหตุที่สร้างข้อจำกัดด้านการสื่อสารระหว่างกัน การสื่อสารระหว่างกันปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการสื่อสารที่ตั้งอยู่บนมาตรฐานของแบบจำลอง OSI ให้มองผ่านในเรื่องของระบบที่มีความแตกต่างข้ามไป โดยไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับใด ยี่ห้ออะไร รุ่นอะไรก็ตาม ก็สามารถสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ต่างระดับ ต่างรุ่น ต่างยี่ห้อ หรือต่างแพล็ตฟอร์มให้สื่อสารร่วมกันได้ เพียงแต่ผู้พัฒนานั้นให้ยึดหลักของแบบจำลอง OSI เป็นมาตรบานการสื่อสารบนระบบเครือข่าย ซึ่งนั่นก็คือเป้าหมายของแบบจำลอง OSI นั่นเอง

แหล่งที่มาhttp://www.burapaprachin.ac.th/network/Page202.htm