วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปผลการเรียนภาคที่1/53

ความรู้ที่หนูได้รับจากเรียนที่อาจารย์ได้สอน หนูได้รับความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อสัญญาณอิน
เทอร์เน็ตและการเช็กสัญญาณอินเทอร์เน็ต จากที่หนูไม่เคยเรียนไม่เคยรู้หนูก็ได้รู้เช่นการเช็กสัญญาณ
อินเทอร์และได้รู้จักสายแลด์ว่าเป็นยังไงและการเข้าหัวRJ45 และการต่อแบบตรงและการต่อแบบไข้ว
และอาจารย์ยังสอนหนูสมัค facebook และจากที่หนูไม่เคยได้รู้จักการทำบล็อคหนูก็ได้ร้จักทำ จากที่
ไม่เคยได้รู้จักรู้จักอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์หนูก็ได้รู้ก็ได้รู้จัก และหนูยังหวังว่าความรู้ที่หนูได้รับจาก
การสอนของอาจารย์ที่ได้สอนมาทั้งหมดหนูจะสามารถนำความรู้ที่หนูได้รับไปสอนน้องๆและคนที่ยังไม่รู้
ให้รู้ได้ในเรื่องที่หนูเรียนมา

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แบบจำลองOSIสำหรับเครือข่าย

องค์การ ISO และแบบจำลอง OSI

องค์กรกำหนดมาตรฐานสากลหรือมักเรียกสั้นว่า ๆ ISO นั้น จัดเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโกเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสากล และมาตรฐาน ISO นี่เอง ก็ได้ครอบคลุมหักเกณฑ์เครือข่ายการสื่อสารด้วย ที่เรียกว่า Open Systems Interconnection หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แบบจำอง OSI ซึ่งเป็นแบบจำลองอ้างอิงเครือข่ายมาตรฐานสากล โดยทาง ISO ได้พัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1984

แบบจำลอง OSI เป็นระบบเปิด ( Open System ) ที่อนุญาตให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ กล่าวคือ มาตรบานแบบจำลอง OSI ที่จัดทำขึ้นมานั้น ก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรบานการสื่อสารที่เป็นสากล โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ อย่างไรก็ตาม แบบจำลอง OSI ไม่ใช่โปรโตคอล ดังที่หลายคนเข้าใจกันแต่เป็นเพียงแบบจำลองแนวความคิด ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้าใจในสถาปัตยกรรมเครือข่าย และปัจจุบันก็ได้มีการนำโมเดลนี้มาเป็นแบบจำลองทางสถาปัตยกรรมหลักสำหรับการสื่อสารในระดับสากล

แบบจำลอง OSI มีกรอบการทำงานเป็นลำดับชั้น หรือรียกว่า “ เลเยอร์ ” แต่ลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน รวมถึงฟังก์ชันหน้าที่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชั้น สำหรับลำดับชั้นต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมานั้น จะถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารร่วมกัน โดยแบบจำอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้นด้วยกันคือ คือ

  • ลำดับชั้นฟิสิคัส
  • ลำดับชั้นดาต้าลิงก์
  • ลำดับชั้นเน็ตเวิร์ก
  • ลำดับชั้นทรานสปอร์ต
  • ลำดับชั้นเซสซัน
  • ลำดับชั้นพรีเนเตชัน
  • ลำดับชั้นแอปพลิเคชัน

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมีการแบ่งเป็นลำดับชั้นต่าง ๆ มากมาย ซึ่งการมีหลาย ๆ ดับชั้นจะไม่เกิดความยุ่งยากเหรอ ในความเป็นจริงแล้ว การที่แบ่งเป็นส่วนการทำงานย่อย ๆ ที่เรียกว่าเลเยอร์หรือลำดับจะส่งผลดีกว่า ให้ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ กับการเขียนโปรแกรม ลองคิดดูว่า เราทำไมไม่เขียนโปรแกรมแบบรวมกันอยู่ในโมดูลเดียว แต่การออกแบบโปรแกรมที่ดี ควรเขียนโปรแกรมแยกออกเป็นโปรแกรมย่อยหรือโมดูลต่าง ๆ ซึ่งแต่ ละโมดูลก็จะมีหน้าที่การทำงานเฉพาะส่วนของตัวเอง การปรับปรุงหรือการ

เปลี่ยนแปลงโปรแกรมในแต่ละโมดูลก็จะทำได้ง่าย ไม่ต้องไล่โปรแกรมตั้งแต่ต้น หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในบางโมดูลก็จะไม่ส่งผลกระทบกับโมดูลอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน การแบ่งเป็นลำดับชั้นของแบบจำลอง OSI ก็ใช้เพื่อการนี้เช่นกัน

ชื่อของลำดับชั้นทั้งเจ็ดที่เรียงลำดับในแบบจำลอง OSI ในบางครั้งก็ยากต่อการจดจำ แต่ก็มีแนวทางที่จะทำให้การจดจำลำดับชั้นทั้งเจ็ดได้ง่ายขึ้นจากประโยคที่ว่า “ All people seem to need data processing ”

แนวความคิดในการแบ่งลำดับชั้นสื่อสาร

สำหรับแนวความคิดในการแบ่งลำดับชั้นสื่อสารแบบจำลอง OSI สามารถสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

  • เพื่อลดความวับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้และเข้าใจ
  • เพื่อให้แต่ละลำดับชั้นมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และแตกต่างกัน
  • เพื่อให้แต่ละลำดับชั้นปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • เพื่อให้ฟังก์ชันการทำงานในแต่ละลำดับชั้นที่ได้กำหนดขึ้นมานั้น สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  • จากขอบเขตความรับผิดชอบในแต่ลำดับชั้น ทำให้มีการสื่อสารในแต่ละลำดับชั้นมีความคล่องตัว และเพื่อป้องกันในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงบนเลเยอร์หนึ่ง ๆ แล้วส่งผลกระทบต่อเลเยอร์อื่น ๆ
  • จำนวนลำดับชั้นจะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ และเหมาะสมต่อการจำแนกหน้าที่การทำงานให้กับแต่ละชั้นเท่าที่จำเป็น ซึ่งไม่ใช่มีจำนวนลำดับชั้นมากมายเทอะทะเกินความจำเป็น

สำหรับการพัฒนาแบบจำลองนี้ ผู้ออกแบบได้ออกแบบเพื่อให้มีการไหลของกระบวนการส่งผ่านข้อมูลไปยังส่วนล่างแบบต่อเนื่องกันไปในแต่ละชั้น กล่าวคือ การส่งข้อมูลจะส่งจากลำดับชั้นส่วนบนไปยังส่วนล่างจากชั้นหนึ่งไปยังอีกชั้นหนึ่งที่เชื่อมต่อกันเท่านั้น ไม่สามารถสื่อสารข้อมูลข้ามลำดับกันได้ โดยแต่ละลำดับชั้นจะมีกลุ่มหน้าที่ที่แตกต่างไป และการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจนให้กับแต่ละชั้นนี่เอง ทำให้ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมมีความเข้าใจง่าย และมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป โดยส่วนสำคัญที่สุดคือแบบจำลอง OSI จะมองผ่านอย่างสมบูรณ์ ถึงแม้จะเป็นระบบที่เข้ากันไม่ได้ กล่าวคือ ถึงแม้ระบบที่สื่อสารกันจะมีความแตกต่างในสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานมีความแตกต่างกัน แต่นั้นไม่ใช่สาเหตุที่สร้างข้อจำกัดด้านการสื่อสารระหว่างกัน การสื่อสารระหว่างกันปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการสื่อสารที่ตั้งอยู่บนมาตรฐานของแบบจำลอง OSI ให้มองผ่านในเรื่องของระบบที่มีความแตกต่างข้ามไป โดยไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับใด ยี่ห้ออะไร รุ่นอะไรก็ตาม ก็สามารถสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ต่างระดับ ต่างรุ่น ต่างยี่ห้อ หรือต่างแพล็ตฟอร์มให้สื่อสารร่วมกันได้ เพียงแต่ผู้พัฒนานั้นให้ยึดหลักของแบบจำลอง OSI เป็นมาตรบานการสื่อสารบนระบบเครือข่าย ซึ่งนั่นก็คือเป้าหมายของแบบจำลอง OSI นั่นเอง

แหล่งที่มาhttp://www.burapaprachin.ac.th/network/Page202.htm

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติวันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา
ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

เพิ่มเติม

"ผ้าจำนำพรรษา" คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบแล้วในวัดนั้น ภายในเขตจีวรกาล เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสาวาสิกสาฎิกา"

"ผ้าอาบน้ำฝน" คือผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบน้ำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เรียกอีกอย่างว่า "ผ้าวัสสิกสาฏิกา"

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์

การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็น การกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว ตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหน รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา ๓ เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมี การแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร
๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
แหล่งที่มา

http://www.dhammathai.org/day/kounpansa.php

ประวัติวันอาสาฬบูชา

ประวติวันอาสาฬหบูชา

ประวัติความเป็นมา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อน
วันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง

หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่ง
บุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ
๑.
อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒.
วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓.
เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔.
ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี
ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่
๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า

ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา"
หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา

จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ
1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
แหล่งที่มา

http://www.learntripitaka.com/History/asalha.html

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของเครื่อข่าย

1 เครื่อข่ายบริการข้อมูล (server )
2 เครื่องลูกข่าย (client)
3 การ์ดเครื่อข่าย (network interface cards)
4 สายเคเบิลที่ใช้บนเครื่อข่าย (netork cards)
5 ฮินและสวิตซ์ (hubs and switches)
6 ระบบปฎิบัติการเครื่อข่าย (netwark operating system)

clint/server
web server ใช้เกี่ยวกับ http
1 mail server เครื่อข่ายบริการ เช่น ส่งและรับจดหมาย @การใช้ Email เป็นกรุป
2 file server จัดเก็บ file ดูแลรักษาข้อมูลได้ง่าย เป็นแหล่งเก็บข้อมูล input
3 print server จัดการ print สั่งปรินช่วยในการเชื่อมคอมหลายตัวให้ปรินที่เครื่องเดียวได้

ข้อดี
เสถียรภาพสูงเพิ่มลดได้ตามต้องการ ปลอดภัยสูงทั่งด้านข้อมูลและการจัดการ user

ข้อเสีย
ลงทุนสูงในการติดตั้ง พึ่งพาผู้ควบคุมที่มีความรุ้ความเชี่ยวชาญ

peet to pes
ข้อดี

1 ลงทุนต่ำ
2 ไม่ต้องมีผู้ดูแลระบบ
3 ติดตั้งง่าย

ข้อเสีย

1 มีข้อความจำกัด
2 มีระบบความปลอดภัยต่ำ
3 มีปัญหาเกี่ยวกับการขยายเครื่อข่าย